"ข้อกำหนดของ มอก. 18000"

          ข้อกำหนดของ มอก. 18000 มีแนวทางมาจาก ISO 9000, ISO 14000 ทำให้ข้อกำหนดคล้ายคลึงกัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกขนาด และทุกสาขาอาชีพ โดยข้อกำหนดของ มอก. 18000 จะมีเรื่องของการควบคุมสถานะเบื้องต้น เพื่อทบทวนประสิทธิภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร การพิจารณาองค์กรที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วน เรื่องนโยบายอาชีวอนามัยเพื่อความปลอดภัยที่องค์กรจะต้องกำหนดนโยบายขึ้นมาให้เหมาะสมกับธุรกิจ

          ข้อกำหนดของ มอก.18000 รวมถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการวางแผน ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักส่วนหนึ่งในระบบการจัดการที่จะต้องพิจารณาถึงการประเมินความเสี่ยงในทุกกิจกรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการกำหนดวิธีการที่จะชี้บ่ง ติดตาม สืบค้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างต่อเนื่องและในแผนการประเมินความเสี่ยงที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปควรจะนำมาวางแผนการจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

          นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความสามารถ รวมถึงการสื่อสารที่ต้องมีกระบวนการและควบคุมเรื่องเอกสาร เพื่อให้เอกสารมีความทันสมัยเพียงพอต่อการใช้งาน มีข้อกำหนดในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้าง ให้มีกระบวนการควบคุมโดยกำหนดคุณสมบัติเงื่อนไขและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นกระบวนการพิเศษที่เพิ่มขึ้นมา และภายในข้อกำหนดจะมีการควบคุมการปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงวัตถุดิบ และ Working System ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้องมีระบบในองค์กร

          ปัจจุบันนี้กฎหมายได้บังคับให้มีแผนฉุกเฉิน ที่เน้นเรื่องของกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน โดยทำการตรวจสอบหรือทดสอบว่าใช้งานได้จริง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และต้องมีการเตือนอันตราย โดยติดตั้งป้ายเตือนกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ซึ่งต้องทำด้วยวัสดุที่ได้มาตรฐานและยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องที่มาจากระบบและบันทึกระบบการจัดการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย หรือระบบการจัดการที่สำคัญ คือ มีกระบวนการในการรวบรวมระบบที่ดำเนินการผ่านมา ทั้งตัวผู้บริหารและองค์กรด้วย

 

By : QSG Consult - ที่ปรึกษาระบบคุณภาพBRC Food,ISO,GMP

แหล่งที่มา : http://www.technologymedia.co.th/knowledge/measure_TIS18000.asp