ปัจจุบันเหตุการณ์ไฟไหม้ เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยครั้ง โดยมักจะเกิดในอาคารสูง หรือโรงงานที่มีเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ เป็นต้น
การปฏิบัติตนขณะเกิดเหตุไฟไหม้
1.หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก และวิเคราะห์ว่า เหตุเพลิงไหม้เกิดจากอะไร และสามารถดับเพลิงขั้นต้นได้หรือไม้
2.กดสัญญาณแจ้งเตือน และเตรียมอพยพออกจากอาคารจากนั้นโทรศัพท์แจ้งให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาระงับเหตุและควบคุมเพลิง
3.หากเกิดเพลิงไหม้รุนแรง และจำเป็นต้องอพยพให้หมอบคลาดต่ำไปตามเส้นทางอพยพหนีไฟไปที่ปลอดภัย
4.ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปากหรือถุงพลาสติดใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาคลุมศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย
5.อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย โดยใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคารไปยังจุดรวมพล
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติขณะอพยพหนีไฟ
- ห้ามใช้ลิฟท์ เพราะลิฟท์จะหยุดทำงาน อาจทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้
- ห้ามวิ่งในขณะอพยพหนีไฟ และไม่ควรอพยพเข้าไปในจุดอับของอาคาร เช่น ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน เป็นต้น
- ห้ามนำสิ่งของขนาดใหญ่ติดตัวขณะอพยพหนีไฟเพราะทำให้การอพยพล่าช้า และอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ตามกฎหมาย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.๒๕๕๕ ได้กำหนดเกี่ยวกับการอพยพหนีไฟ ดังนี้
- - สถานประกอบกิจการ ต้องฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น และอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- - จัดทำป้ายบอกทางหนีไฟ ซึ่งมีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นชัดตลอดเวลา
- - จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองหรือไฟฉุกเฉินที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟ
By Consultants K
#BRC #Food #ISO #GMP #Sedex #BSCI