อนาคตของแรงงานน่าเป็นห่วง ในยุค AI ครองอุตสาหกรรม
เศรษฐกิจในปีนี้ไม่ดี ทำให้สถานการณ์โดยรวมสำหรับคนทำงานไม่ดีนัก แล้ว “แรงงาน” ควรจะพัฒนาตัวเองอย่างไร องค์กรควรจะปรับเปลี่ยนไปทางไหน เพื่อให้อยู่รอดและพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต
ภาพรวมในอาเซียนและไทยเวลานี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือมีปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ การศึกษา และการสาธารณสุข และต้องลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน ซึ่งว่ากันแล้ว อาเซียนมีแรงงานมากเป็นอันดับ 3 ของโลก กว่า 350 ล้านคน (ไทย 39 ล้านคน) รองจากจีนและอินเดีย
กลุ่มสาขาที่จะถูก Disruption ได้แก่
- Media,
- Education,
- Energy และ
- Healthcare
โดยจะแทนที่โดย
- Digital Media,
- Ed Tech,
- Sustainable Energy และ
- Biotechnology
ปัจจุบันแรงงานมีความแตกต่างของวัยมากขึ้น แต่ทุกวัยต้องมีการทักษะในลักษณะเดียวกัน โดยทักษะสำคัญในการทำงานยุคใหม่ คือ ภาษา การใช้คอมพิวเตอร์ การคำนวณวิเคราะห์ และการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ แต่ยังมีทักษะอื่นที่จำเป็นด้วย เช่น
- มีทัศนคติเชิงบวก
- ปรับตัวเร็ว
- ประเมินจุดเด่นจุดด้อยของตัวเอง
- พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ
สำหรับผู้สูงวัยต้องรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงเพื่อพร้อมรับการทำงานหลังเกษียณ โดยอาชีพเสริมที่น่าสนใจ เช่น
- เป็นพนักงานขาย,
- รับจ้างดูแลคนป่วย คนชรา,
- สอนพิเศษ,
- ขับรถนอกเวลางาน,
- พนักงานเสิร์ฟอาหาร,
- Gig Workers
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของคนไทยประการหนึ่งคือ คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอะไรที่รวดเร็ว ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ข้าราชการทำงานช้าและไม่เคยเปลี่ยนตัวเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทัศนคติ (Attitude) ของคนไทยนั้นเปลี่ยนแปลงยากมาก และชอบที่จะรอรับการช่วยเหลือมากกว่าพึ่งพาตนเองเป็นหลัก
สิ่งที่ตามมาคือ แรงงานไทย Up-skill และ Re-skill ไม่ทันกับความต้องการของตลาด ภาครัฐก็ช่วยอะไรไม่ได้ ทำให้มีโอกาสพึ่งพาแรงงานต่างชาติมากขึ้น ทำให้ต้นทุนสูง และสุดท้ายองค์กรต่างๆ ต้องสร้างอะคาเดมีของตัวเอง เพราะแรงงานไม่เพียงพอ ไม่ตรงกับความต้องการ หรือ ใช้งานไม่ได้
ในภาพรวมจนถึงปี 2564 ความต้องการแรงงานมีแนวโน้มลดลงโดยเฉลี่ย 2% อาจจะดูน้อย แต่ที่จริงก็มีงานส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่แรงงานคนทำไม่ได้หรือไม่จำเป็น แรงงานที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และขาดทักษะเฉพาะด้านมีความเสี่ยงที่จะตกงานสูง สถาบันการเงิน, แรงงานภาคค้าปลีก, งานด้านธุรการพื้นฐาน มีความต้องการลดลง แต่งานที่ยังมีความต้องการของตลาด เช่น
แรงงานด้านไอที มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนแรงงาน 11% แต่ยังขาดแคลนและหาไม่ได้
- งานที่ใช้ทักษะด้านการสื่อสาร
- งานวิศวกร
- งานเกี่ยวกับหุ่นยนต์เอไอ รวมถึง
- งานด้านทรัพยากรบุคคลยุคใหม่
- งานและธุรกิจที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ก็มีความต้องการมากขึ้นเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยที่กำลังเกิดขึ้น
ในปี 2563 คาดว่าจะมีแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ประมาณ 9.27% โดยปัจจัยที่ว่าระบบการศึกษาสร้างแรงงานไม่ตรงกับความต้องการและใช้งานจริง โดยแรงงานกลุ่มนี้มีตั้งแต่ผู้ที่จบปริญญาตรี ปวส. ปวช. และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปัญหาทีตามมาก็คือ แนวโน้มการชะลอตัวของภาคส่งออก, ภาคการผลิต, ภาคการก่อสร้าง, ภาคบริการ ลดรับแรงงาน และมีการปรับไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้นโอกาสตกงานหรือไม่มีงานทำจึงสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
#Aducate #Re-skill #Upskill #โลกอนาคต #Disruption
**************************************************
สนใจที่ปรึกษาอบรมติดต่อฝ่ายขาย
☎️ 096-881-2016 คุณกวาง
Line ID: @qsgconsult
#ISO9001 #ISO14001 #GMP #GHP #HACCP
#BRC #BRCFood #BRCFood #BRCIOP #BRCpackaging
#SEDEX #BSCI #BSCI