GHPs: EP0 


GHPs คืออะไร


GHPs ย่อมาจาก Good Hygiene Practice (s); คือ ระบบพื้นฐานที่โรงงานผลิตอาหาร หรือผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารควรจะนำไปประยุกต์ใช้: ซึ่งจะสามารถตอบสนองนโยบายขององค์กรอนามัยโลกที่ต้องการให้อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่ การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร ที่เรียกว่า “FARM TO TABLE” หรือ “FARM TO FALK” ซึ่งกว่าอาหารจะมาถึงผู้บริโภคได้นั้น ผ่านขั้นตอนกระบวนการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 


enlightenedการปลูกผัก ที่อาจปนเปื้อนจาก ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืช
enlightenedการเลี้ยงสัตว์ ที่อาจปนเปื้อนจาก อาหารสัตว์ และยาสัตว์
enlightenedการเก็บเกี่ยว / การเชือด / การจัดเก็บ ที่อาจปนเปื้อนจาก เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค จากการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะของพนักงาน
enlightenedการขนส่ง ที่อาจปนเปื้อนจาก เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค จากรถขนส่งที่ไม่สะอาด และสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ (Allergen) จากรถขนส่งที่ขนส่งอาหารที่ผู้บริโภคบางคนแพ้ แต่ทำความสะอาดไม่ดี
enlightenedโรงงานผลิตอาหาร ที่มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนทั้งอันตรายจาก เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค สารเคมี และอันตรายทางกายภาพมากมาย

หากผู้ประกอบการในห่วงโซ่อาหารปล่อยปละ ละเลย ไม่ควบคุมการทำงานให้ดีก็จะสามารถทำให้อาหารที่ถึงผู้บริโภคเกิดอันตรายได้ในทุกขั้นตอน และเพื่อเป็นการป้องกันดังกล่าว องค์กรอนามัยโลก จึงตั้งคณะกรรมการ Codex ที่ขึ้นมาเพื่อเขียนคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารนำไปปฏิบัติ และให้บริษัทผู้ตรวจประเมินที่ได้รับอนุญาตเข้าตรวจประเมิน หากผู้ประกอบการรายใดไม่ปฏิบัติตามก็ไม่สามารถได้รับการรับรอง และไม่สามารถแสดงสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายที่ผลิตภัณฑ์อาหารได้

ซึ่งสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายนั้นจะทำให้ให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า หากเลือกซื้ออาหารจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GHPs แล้วจะสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับตนเอง หรือคนที่ท่านรัก

ข้อกำหนด GHPs ประกอบด้วยข้อกำหนดทั้งสิ้น 2 ส่วน ได้แก่


1. สุขลักษณะที่ดีในการผลิต ซึ่งจะเป็นเรื่องของการ “ป้องกัน” อันตรายที่อาจจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่อาหารซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับ


o การออกแบบสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก: ตั้งแต่ ทำเลที่ตั้ง อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักรในการผลิตต้องสามารถป้องกัน และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหาร


o การฝึกอบรม และความสามารถ: พนักงานต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความเข้าใจ และตระหนักถึงพฤติกรรม และการปฏิบัติงานอย่างมีสุขลักษณะที่ดี 


o การบำรุงรักษา และการสุขาภิบาล: 
enlightened พื้นฐานที่สำคัญของการผลิตอาหารให้ปลอดภัยคือ ความสะอาด 
enlightened ทั้งนี้รวมถึงการดูแลอุปกรณ์ เครื่องจักรให้มีความสะอาด และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุดที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหาร
enlightened รวมถึงการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคที่หากผู้บริโภคพบในอาหารก็จะเสื่อมเสียความมั่นใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ซ้ำในครั้งต่อไป รวมถึงอาจสื่อสารให้คนอื่นทราบผ่าน Social Media 
ต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการเสียชื่อเสียงได้
enlightened การควบคุมของเสีย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค / แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะ


o การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล: เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ที่สัมผัสอาหาร โดยตรง หรือ โดยอ้อม:
รักษา สุขภาพ ส่วนบุคคลที่เหมาะสม รักษาระดับความ สะอาด ส่วนบุคคลที่เหมาะสม และ
ความประพฤติตน และ ดำเนินงาน ในลักษณะที่เหมาะสม เพราะ บุคลากรที่ ไม่รักษาระดับความสะอาด ส่วนบุคคลในระดับที่เหมาะสม หรือ ผู้ที่มีความ เจ็บป่วย หรือ มีเงื่อนไขบางอย่าง หรือ 
มี พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สามารถสร้างการปนเปื้อนอาหาร และ ส่งความเจ็บป่วยต่อ ผู้บริโภค ผ่านทางอาหาร


o การควบคุมการปฏิบัติงาน: การผลิตอาหารที่ปลอดภัย และเหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์โดย:
enlightened กำหนดข้อกำหนด การออกแบบ เกี่ยวกับวัตถุดิบ และส่วนผสมอื่น ๆ 
enlightened ส่วนประกอบ / สูตรการผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย และ การใช้งานของผู้บริโภค
enlightened เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับธุรกิจอาหาร
enlightened ออกแบบ การประยุกต์ใช้ การติดตาม และทบทวน ระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพตามความเหมาะสมกับธุรกิจอาหาร


o ข้อมูลผลลิตภัณฑ์ และให้ความรู้กับผู้บริโภค: ข้อมูล ที่เหมาะสมเกี่ยวกับอาหารเพื่อให้แน่ใจว่า: 
enlightened มีข้อมูลที่ เพียงพอ และ เข้าถึงได้โดยผู้ใช้ถัดไป ในห่วงโซ่อาหาร หรือ ผู้บริโภค เพื่อให้สามารถจัดการ จัดเก็บ ดำเนินการ เตรียม และ แสดงผลิตภัณฑ์ ได้อย่างปลอดภัย และ ถูกต้อง
enlightened ผู้บริโภคสามารถ ระบุสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหาร และสามารถระบุ และถอด ล็อต หรือ แบทช์ ได้อย่างง่ายดายหากจำเป็น
enlightened ผู้บริโภค ควร ได้รับข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารเพื่อให้สามารถ: ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน และ ทำความเข้าใจฉลากเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมกับบุคคลรวมถึงเกี่ยวกับ สารก่อภูมิแพ้ และป้องกันการปนเปื้อน และ การเจริญ หรือ อยู่รอดของเชื้อโรคในอาหารโดย การจัดเก็บการเตรียม และ การใช้อาหารอย่างถูกต้อง
enlightened ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอ และ / หรือ ความรู้ที่ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับสุขอนามัยอาหารทั่วไป สามารถนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ผิดพลาดในขั้นต่อไปในห่วงโซ่อาหาร การจัดการที่ผิดพลาดดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยหรือผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมต่อการบริโภคแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการควบคุมสุขอนามัยที่เพียงพอก่อนหน้านี้ในห่วงโซ่อาหาร 
enlightened ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับ สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยหรืออาจถึงแก่ชีวิตสำหรับผู้ที่แพ้


o การขนส่ง: ในระหว่าง การขนส่งควรดำเนินมาตรการตาม ที่จำเป็น เพื่อ: 
enlightened ปกป้องอาหารจากแหล่งที่อาจเกิด การปนเปื้อนรวมถึงสารก่อภูมิแพ้ ที่สัมผัสได้ 
enlightened ป้องกันอาหารจาก ความเสียหาย ที่อาจทำให้อาหารไม่เหมาะสมต่อการบริโภค และ
enlightened จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ควบคุม การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรค หรือ การเน่าเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ และการ ผลิตสารพิษในอาหาร
enlightened อาหารอาจมีการปนเปื้อน หรือ ไม่ถึง จุดหมายปลายทางในสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการบริโภค เว้นแต่จะมีการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่มีประสิทธิภาพ ก่อน และ ระหว่างการขนส่ง แม้ว่าจะมีการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่เพียงพอก่อนหน้านี้ในห่วงโซ่อาหาร

2. การวิเคราะห์ และการควบคุมขั้นตอนที่วิกฤตต่อความปลอดภัยของอาหาร (HACCP) โดยระบบ HACCP ได้รับการออกแบบ พิสูจน์ยืนยัน (Validate) และ ดำเนินการตาม 7 หลักการ ดังต่อไปนี้:


enlightened PRINCIPLE 1: การวิเคราะห์อันตราย และการกำหนดมาตรการควบคุม.
enlightened PRINCIPLE 2: การกำหนดจุดวิกฤต Critical Control Points (CCPs).
enlightened PRINCIPLE 3: การกำหนด และการพิสูจน์ยืนยันค่าวิกฤต Critical limits.
enlightened PRINCIPLE 4: การติดตามจุดวิกฤต CCPs. Monitoring
enlightened PRINCIPLE 5: การกำหนดการแก้ไขกรณีที่พบการเบี่ยงเบนจากค่าวิกฤตที่กำหนด
enlightened PRINCIPLE 6: การพิสูจน์ยืนยันแผน HACCP และ การทวนสอบประสิทธิภาพของระบบ
enlightened PRINCIPLE 7: การจัดทำเอกสาร


จากทั้ง 2 ส่วนของ GHPs จะพบว่าหากผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อาหาร ได้นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรแล้วก็จะสามารถทำให้อาหารเกิดความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเป็น 1 ใน 17 หลักกาณ์ของ Business Sustainable Goal หรือการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนอีกด้วย

 

 

**************************************************


สนใจที่ปรึกษาอบรมติดต่อฝ่ายขาย

☎️ 096-881-2016 คุณกวาง

Line ID: @qsgconsult

#ISO9001 #ISO14001 #GMP #GHP #HACCP #BRC #BRCFood #BRC #Sedex #BSCI #GHPs #foodsafety