ใครที่อยากเริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงสารพิษตกค้างในร่างกายด้วยอาหารออร์แกนิคแต่ไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมาเป็นออร์แกนิคและปลอดสารพิษชัวร์หรือเปล่านะ ?
วันนี้จะมาแนะนำตราสัญลักษณ์ที่ได้มาตรฐานออร์แกนิค ที่มั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดใน Healthifulผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อย เห็นปุ๊บหยิบได้ทันที ออร์แกนิคแท้ ปลอดภัยชัวร์ค่ะ
1.ตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐาน (IFOAM Basic Standards) จัดทำโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก และยังจัดตั้งโครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM (IFOAM Accreditation Program) ให้บริการรับรองระบบงานแก่หน่วยงานที่เป็นผู้ตรวจสอบเกษตรอินทรีย์ทั่วทุกมุมโลก เพื่อให้สามารถออกตราสัญลักษณ์รับรองได้
โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธ์, สภาพแวดล้อมของการปลูก, การบรรจุ และการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ฟาร์มหรือโรงงาน ปลอดสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิดรวมทั้งสมุนไพรบางชนิด พร้อมมีแนวทางป้องกันการปนเปื้อนสารเคมีจากสภาพแวดล้อมอีกด้วย
2.ตราสัญลักษณ์ USDA Organic เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรในสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) โดยผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาตรฐาน USDA จะต้องไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมหรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี ปราศจากปุ๋ยเคมี , ปุ๋ยมูลสัตว์ , ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ ยกเว้นการให้อาหารเสริมประเภทวิตามินหรือแร่ธาตุ สำหรับปศุสัตว์ก็จะต้องให้อาหารที่เป็นออร์แกนิคอีกด้วย
โดยมาตรฐานของ USDA ที่ขอปิดฉลากตราสัญลักษณ์ได้ มี 2 แบบหลัก ๆ คือ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิค 100% ไร้สารปนเปื้อน ตั้งแต่กระบวนการผลิต ส่วนผสม ไปจนถึงการบรรจุ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิคอย่างน้อย 95% ขึ้นไป และส่วนผสมอีก 5% ต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม
3.ตราสัญลักษณ์ USDA Organic เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรในสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) โดยผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาตรฐาน USDA จะต้องไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมหรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี ปราศจากปุ๋ยเคมี , ปุ๋ยมูลสัตว์ , ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ ยกเว้นการให้อาหารเสริมประเภทวิตามินหรือแร่ธาตุ สำหรับปศุสัตว์ก็จะต้องให้อาหารที่เป็นออร์แกนิคอีกด้วย
โดยมาตรฐานของ USDA ที่ขอปิดฉลากตราสัญลักษณ์ได้ มี 2 แบบหลัก ๆ คือ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิค 100% ไร้สารปนเปื้อน ตั้งแต่กระบวนการผลิต ส่วนผสม ไปจนถึงการบรรจุ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิคอย่างน้อย 95% ขึ้นไป และส่วนผสมอีก 5% ต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม
4.อินทรีย์ญี่ปุ่น (Japanese Agricultural Standard) เป็นมาตรฐานรับรองสินค้าออร์แกนิค ที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของประเทศญี่ปุ่น ที่มีการห้ามใช้สารเคมีกับดินเป็นเวลา 2-3 ปี ห้ามตัดต่อพันธุกรรม ควบคุมการผลิตเพื่อป้องกันการเจือปนของสารเคมี และต้องมีส่วนผสมเกษตรหรือปศุสัตว์อินทรีย์ไม่น้อยกว่า 95% โดยเราจะสังเกตเห็นเจ้าสัญลักษณ์นี้บนฉลากสินค้าออร์แกนิคที่ส่งออกหรือนำเข้าจากญี่ปุ่น และยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ระบบที่ประเทศแคนาดายอมรับอีกด้วย
5.ตราสัญลักษณ์ COR เป็นมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์แคนาดา (Canada Organic Regime – COR) มี Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดย COR ยังให้การรับรองระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อื่น ๆ ได้แก่ ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา (จากผู้ผลิตทั่วโลก) ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (เฉพาะที่ผลิตในสหภาพยุโรป) และระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น (เฉพาะที่ผลิตในญี่ปุ่น) โดยตรารับรอง COR ที่ถูกต้องจะต้องมีชื่อสินค้า รหัสหน่วยงานที่ทำการตรวจการรับรองที่ออกโดย IOAS พร้อมกับระบุประเทศผู้ผลิต ทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสกำกับไว้ใกล้ ๆ กับตรามาตรฐานให้เห็นได้ชัดเจนค่ะ
5.ตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกท. (Organic Agriculture Certification Thailand – ACT)
ถือเป็นรายแรกและรายเดียวในเอเชียที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM ซึ่ง มกท. ยังมีระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เฉพาะสำหรับตรวจรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์บางประเภทที่เพิ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น ที่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงผึ้ง และการประกอบอาหาร มั่นใจในคุณภาพไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยค่ะ
6.ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. (National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards – ACFS) ได้ให้ความหมายของ “เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture)” เอาไว้ว่า เป็นระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุ ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ , เทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน
**************************************************
สนใจที่ปรึกษาอบรมติดต่อฝ่ายขาย
☎️ 096-881-2016 คุณกวาง
Line ID: @qsgconsult
#ISO9001 #ISO14001 #GMP #GHP #HACCP #BRC #BRCFood #BRC #Sedex #BSCI #GHPs #foodsafety