GHPs: EP2 5 สิ่งสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป จาก GMP สู่ GHPs

 

- EP นี้เป็น EP ที่สำคัญที่สุด!!! ที่จะสรุปการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่

- ผู้ขอการรับรอง GHPs ต้องทราบ!!! เพื่อปรับรระบบ และเอกสารให้สอดคล้อง

- เนื่องจาก Codex ได้ประกาศออกมาแล้วว่าเมื่อ GHPs ประกาศใช้อย่างเป็นทางการวันที่เท่าไหร่ก็ตาม

- จะมีผลบังคับใช้ทันที!!! ไม่มีระยะเวลาในการปรับระบบ

- ผู้ตรวจประเมินที่จะเข้าตรวจติดตามครั้งถัดไปจะทำการตรวจตามมาตรฐาน GHPs ทันที!!!

 

5 สิ่งสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป จาก GMP สู่ GHPs ได้แก่

 

1. เปลี่ยนชื่อ จาก RECOMMENDED INTERNATIONALCODE OF PRACTICE GENERALPRINCIPLES OF FOOD HYGIENE CAC/RCP 1-1969, Rev. 4-2003 ไปเป็น

GENERAL PRINCIPLES OF FOOD HYGIENE: GOOD HYGIENE PRACTICES (GHPs) AND THE HAZARD ANALYSIS AND CRITICAL CONTROL POINT (HACCP) SYSTEM

 

เนื่องจาก ต้องการให้ชื่อของมาตรฐานมีชัดเจน และครอบคลุมอุตสาหกรรมที่สามารถขอการรับรองมาตรฐานนี้ได้มากขึ้น

เพราะ GMP เดิมนั้นตัว “M” ย่อมาจากคำว่า “Manufacturing” แปลว่า “การผลิต” ทำให้เกิดความสับสนกับบางอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิต เช่น การจัดเก็บ การขนส่ง การให้การบริการ ที่ขอการรับรองมาตรฐาน

 

พอเปลี่ยนเป็น GHPs ซึ่ง ตัว “H” ย่อมาจากคำว่า “Hygiene” เพื่อให้สามารถครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่น ๆที่เกี่ยวข้องกับ “Food Chain” หรือ “ห่วงโซ่อาหาร” ว่าทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ อาหารตั้งแต่เริ่มต้น

การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การเก็บเกี่ยว การจัดเก็บ การขนส่ง การแปรรูป ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ผู้ให้บริการกำจัดสัตว์พาหะ ตลอดจนผู้ขายอาหาร ล้วนมีส่วนสำคัญกับความปลอดภัยของ “ผู้บริโภคคนสุดท้าย” ทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าจะเกิดความผิดพลาดที่ขั้นตอนใด ๆ ใน “ห่วงโซ่อาหาร” นี้ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคได้ทั้งสิ้น


2. เปลี่ยนลักษณะการเขียนข้อกำหนดใหม่

ในข้อกำหนด GMP เดิมนั้นมีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 10 ข้อกำหนดหลักด้วยกัน โดยแต่ละข้อจะระบุข้อกำหนดย่อยเป็นอิสระ เช่น 9.1, 10.1 เป็นต้น และแยก HACCP อยู่ในส่วนของภาคผนวก (Annex)

แต่ GHPs มีการเขียนข้อกำหนดที่ต่างไปจากเดิมคือ มีการแบ่งข้อกำหนดเป็น 9 ข้อกำหนดหลักก็จริง แต่ข้อกำหนดย่อยนั้นจะต่อเนื่องกันไป โดย GHPs นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 9 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1 – 134

ส่วน HACCP นั้นจะอยู่ในข้อกำหนด Chapter (ส่วนที่) 2 ที่มี Section (บทที่) 1 ถึง 3 โดยมีข้อกำหนดย่อยที่ต่อเนื่องกันทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 135 – 189


3. เพิ่มอันตรายด้าน Allergen สารที่ก่อให้เกิดการแพ้

GMP Version 4 เดิมนั้นประกาศใช้ตั้งแต่ ปี 2003 17 ปีที่แล้วเลยนะครับ (เท่ากับอายุการทำงานเป็น Auditor ของผมเลยครับ 5555) ซึ่งในสมัยนั้นยังกำหนดอันตรายของอาหารเป็น 3 ด้านเท่านั้น

- อันตรายทางชีวภาพ

- อันตรายทางเคมี

- อันตรายทางกายภาพ

แต่ปัจจุบันมีวิวัฒนาการด้านอาหารเพิ่มขึ้น ตลอดจนเกิดอันตรายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นตามมา อย่างเช่น สารก่อให้เกิดการแพ้ ก็เริ่มมีบางคนที่แพ้สิ่งที่อยู่ในอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อาหารทะเล อาหารที่ทำจากถั่ว เป็นต้น (รายละเอียดจะขอเอามาลงให้ใน EP ถัด ๆ ไปนะครับ ฝากติดตามด้วยนะครับ…..) จึงทำให้ข้อกำหนดจึงเพิ่มเป็นอีก 1 อันตรายที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยง และกำหนดมาตรการในการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคที่แพ้อาหารนั้น ๆ ได้รับประทานโดยที่ไม่ตั้งใจ ซึ่งเมื่อผู้ที่แพ้อาหารรับประทานเข้าไปแล้วมีอันตรายตั้งแต่แค่เป็นผื่นคัน หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


4. กำหนดรูปแบบแบบฟอร์มเอกสารการวิเคราะห์อันตรายใหม่ใน HACCP เอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้แก่

- ไม่มีการกำหนดตัวอย่างคำถามที่ใช้ในการตัดสินใจจุด CCP หริอ CCP Decision Tree นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการ (FBO) สามารถกำหนดเกณฑ์การประเมินของตนเองขึ้นมาได้ อย่างไรก็ดีต้องเป็นเกณฑ์ที่สามารถอธิบายให้กับผู้ตรวจประเมินเข้าใจถึงเกณฑ์การประเมินดังกล่าวซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง และความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของอาหารที่มีต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ

- เปลี่ยนแบบฟอร์มเอกสารการวิเคราะห์อันตรายใหม่ Hazard Analysis และ เอกสารควบคุมจุดวิกฤตHACCP Worksheet ถ้าองค์กรใดที่ส่งสินค้าเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาอยู่แล้วจะคุ้นเคยกับเอกสารชุดนี้ดี เพราะเป็น เอกสารที่ใช้สำหรับการทำเอกสาร HACCP เพื่อส่งให้กับ USFDA นั่นเอง แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยอาจต้องทำการศึกษารูปแบบของเอกสารดังกล่าว แล้วนำข้อมูลที่เคยเขียนอยู่ในแบบฟอร์มเดิมมาลงบันทึกลงไปในแบบฟอร์มเอกสารใหม่นี้ อย่างไรก็ดีควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อความถูกต้องของการวิเคราะห์ เพราะจะมีความแตกต่างของระบบการวิเคราะห์อันตรายอยู่พอสมควร


5. เพิ่มการ Validate พิสูจน์ยืนยันสำหรับบางมาตรการควบคุมที่มีความสำคัญ (GHPs)

GMP Version 4 เดิมนั้นเราต้องทำการ Validate พิสูจน์ยืนยันประสิทธิภาพสำหรับค่าวิกฤต (Critical Limit)

ที่กำหนดในแต่ละจุดวิกฤต (CCP) ว่าสามารถลดระดับอันตรายสู่ระดับที่ยอมรับได้ แต่ใน GHPs นั้นได้เพิ่มการ Validate พิสูจน์ยืนยันสำหรับบางมาตรการควบคุมที่มีความสำคัญ (GHPs) ได้แก่ วิธีการทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ / อุปกรณ์ที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า วิธีการล้าง สารทำความสะอาดที่ใช้ ทำให้ลดอันตรายด้านจุลินทรีย์ หรือสารเคมีตกค้างที่อาจส่งผลต่อการปนเปื้อนข้ามสู่อาหาร และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้นั่นเอง

 

 

**************************************************


สนใจที่ปรึกษาอบรมติดต่อฝ่ายขาย

☎️ 096-881-2016 คุณกวาง

Line ID: @qsgconsult

#ISO9001 #ISO14001 #GMP #GHP #HACCP #BRC #BRCFood #BRC #Sedex #BSCI #GHPs #foodsafety