อันตรายอย่างหนึ่งในอาหาร ที่คนไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่ส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ที่จะมาแนะนำชาว Aducate ในวันนี้ ก็คือ
Allergen สารก่อภูมิแพ้
Allergens หมายถึง สารก่อภูมิแพ้ มักเป็นสารอาหารประเภทโปรตีนที่ทนต่อความร้อน ทนต่อการย่อยในระบบทางเดินอาหาร เช่น การย่อยด้วยกรดในกระเพาะอาหาร และเอนไซม์ในลำไส้เล็ก
อาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ แต่ละประเทศกำหนดแตกต่างกัน เช่น
ประเทศไทย มีการกำหนดอาหารก่อภูมิแพ้ ที่ต้องมีการแสดงในฉลาก ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ประกอบด้วย
(1) ธัญพืชที่มีกลูเตน ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต สเปลท์ หรือ สายพันธุ์ลูกผสมของธัญพืชดังกล่าว และผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่มีกลูเตนดังกล่าว ยกเว้น
(ก) กลูโคสไซรัป หรือเดกซ์โทรสที่ได้จากข้าวสาลี
(ข) มอลโทเดกซ์ตริน จากข้าวสาลี
(ค) กลูโคสไซรัป จากข้าวบาร์เลย์
(ง) แอลกฮอล์ที่ได้จากการกลั่นเมล็ดธัญพืช
(2) สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น ปู กุ้ง กั้ง ลอบเสตอร์ เป็นต้น และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
น้ำที่มีเปลือกแข็ง
(3) ไข่ และผลิตภัณฑ์จากไข่
(4) ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา ยกเว้น เจลาตินจากปลาที่ใช้เป็นสารช่วยพาวิตามิน และแคโรทีนอยด์
(5) ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง
(6) ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ยกเว้น
(ก) น้ำมันหรือไขมันจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์
(ข) โทโคเฟอรอลผสม, ดี-แอลฟา-โทโคเฟอรอล, หรือ ดีแอล-แอลฟา-โทโคเฟอรอล หรือ ดี-แอลฟา-โทโคเฟอริลแอซีเทต, หรือ ดีแอล-แอลฟา-โทโคเฟอริลแอซีเทต หรือ ดี-แอลฟา-โทโคเฟอริล แอซิดซักซิเนต
ที่ได้จากถั่วเหลือง
(ค) ไฟโตสเตอรอล และไฟโตสเตอรอลเอสเตอร์ที่ได้จากน้ำมันถั่วเหลือง
(ง) สตานอลเอสเตอร์จากพืชที่ผลิตจากสเตอรอลของน้ำมันพืชที่ได้จากถั่วเหลือง
(7) นม และผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงแลคโตส ยกเว้น แลคติทอล
(8) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง และผลิตภัณฑ์จากถั่วที่มีเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนต์ วอลนัท พีแคน เป็นต้น
(9) ซัลไฟต์ ที่มีปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ทั้งหมดนี้ ต้องแสดงข้อความว่า “ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร : มี ……..….” กรณีมีการใช้เป็น ส่วนประกอบของอาหาร หรือ “ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร : อาจมี ………….…” กรณีมีการปนเปื้อนใน กระบวนการผลิต แล้วแต่กรณี (ความที่เว้นไว้ให้ระบุประเภทหรือชนิดของอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่
ก่อภาวะภูมิไวเกิน) หรือ กรณีที่ไม่แสดงข้อความ “ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร” อาจแสดงข้อความว่า “มี
..............” หรือ “อาจมี.................” ไว้ในกรอบ โดยสีของตัวอักษรต้องตัดกับสีพื้นของกรอบ และสีของกรอบ
สหภาพยุโรบ (EU)
ระบุอาหาร 12 ชนิด เป็นอาหารก่อภูมิแพ้ ได้แก่
ธัญพืช (cereal grain) ที่มีกลูเตน (gluten) (เช่น ข้าวสาลี, ไรน์, ข้าวโพดบาร์เลย์) สัตว์น้ำ (fish) สัตว์น้ำมีเปลือก (crustacean)
น้ำนม (รวมทั้งน้ำตาล lactose) ถั่วลิสง (peanut หรือ groundnut)
นัท ชนิดต่างๆ (Tree Nuts) ไข่ (eggs) ถั่วเหลือง (soybean)
คื่นช่าย (celery) และพืชใน Umbelliferae family เช่น แครอท เซเลรี่ พาร์สลีย์ มัสตาร์ด (mustard) เมล็ดงา อาหารที่มีการใช้ sulfur dioxideและ สารในกลุ่มซัลไฟต์ (sulfites) เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) (ที่มีความเข้มข้นมากกว่า > 10 ppm)
อาการแพ้อาหารมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางคนมีอาการแพ้อาหารเพียงเล็กน้อยในครั้งแรก แต่อาจพัฒนาเป็นอาการแพ้อาหารรุนแรงในครั้งถัดๆ ไปได้
อาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นอาจแสดงอาการทางระบบผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจหลอดเลือด หรือระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพร้อมกันก็ได้
ตัวอย่างอาการแพ้อาหาร
ชา หรือคันที่ปาก ใบหู หรือในลำคอ
มีผื่นคันเหมือนเป็นลมพิษ ในบางรายอาจมีผิวหนังแดง และรู้สึกคัน
บวมบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น เพดานปาก และในลำคอ
กลืนอาหารลำบาก
หายใจลำบาก หายใจติดขัด
วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
รู้สึกไม่สบาย อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
ปวดบริเวณท้องน้อย หรือท้องเสีย
มีอาการคล้ายเป็นไข้ละอองฟาง เช่น จาม หรือคันบริเวณดวงตา และเยื่อบุตา
ซึ่งผู้ผลิตอาหาร ต้อง มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคสารที่ก่อให้เกิดการแพ้
ในส่วนของผู้บริโภคเอง ต้อง มีการตรวจสอบฉลากก่อนรับประทานเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่กำลังจะรับประทานเข้าไป ไม่มีส่วนผสมของสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ที่ทำให้เกิดอันตรายกับตัวท่านเอง
#foodsafety #GMP #HACCP #BRC #FSSC
#ISO #allergen #สารก่อภูมิแพ้
**************************************************
สนใจที่ปรึกษาอบรมติดต่อฝ่ายขาย
☎️ 096-881-2016 คุณกวาง
Line ID: @qsgconsult
#ISO9001 #ISO14001 #GMP #GHP #HACCP #BRC #BRCFood #BRC #Sedex #BSCI #GHPs #foodsafety