ISO มาจากคำว่า International Organization for Standardization
เป็นมาตรฐานการวัดคุณภาพองค์กรต่าง ๆ เพื่อรับรองระบบการบริหาร และการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกตัวเลขที่อยู่ด้านหลังคำว่า ISO นั้น หมายถึง จุดมุ่งหมายของ ISO แต่ละระบบ ซึ่งจะได้อธิบายอย่างละเอียดในแต่ละมาตรฐาน ในโพสนี้
ISO มีข้อดีคือ
ทำให้ผู้บริโภค มั่นใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือบริการ รวมถึง สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจอีกด้วย
หากเพื่อน ๆ รักโลก และอยากจะให้ลูกค้ามองว่าธุรกิจของเพื่อน ๆ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและต้องการให้บุตรหลานของเรา อยู่ในโลกนี้ได้อย่างปลอดภัย แล้วละก็ ขอแนะนำระบบ ISO14001
ISO14001:2015 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร
เพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ISO14001:2015 มาตรฐานสากลฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อใช้สำหรับองค์กรที่ต้องการบริหารจัดการกับความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ใน
มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยการเพิ่มสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
การดำเนินการให้สอดคล้องตามกฎหมาย และพันธะสัญญาที่เกี่ยวข้อง และความสามารถ
ในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอง เพื่อทำให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับนโยบาย
ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร รวมถึงเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร
1. ทราบหลักการของข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO14001:2015 และการนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้
2. สามารถพิจารณาประเด็นภายนอก และภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์และทิศทางกลยุทธ์องค์กร
3. สามารถชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4. สามารถนำมาตรฐานดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการตรวจติดตามภายในองค์กรได้
5. เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
6. เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
7. มีโครงสร้างมาตรฐานที่สามารถบูรณาการ (Integrate) ร่วมกับมาตรฐาน อื่นๆ ได้
ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร
1. ลูกค้าเกิดความมั่นใจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้าและบริการ
2. การจัดการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
3. บรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน